วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โทรทัศน์ครู teachers TV



การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


บทความ

บทความเรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย (มิส วัลลภา ขุมหิรัญ)

บทความเรื่อง  การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
โดย  มิสวัลลภา  ขุมหิรัญ
หลักการและความสำคัญ
    วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้น รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม นอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย
อย่างไรก็ตาม การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยยังไม่ได้รับการส่งเสริมให้แพร่หลายอาจเนื่องด้วยการศึกษาปฐมวัยมิได้เป็นการศึกษาภาคบังคับและในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยได้กำหนดกรอบสาระของหลักสูตรไว้กว้างๆทำให้สาระของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไม่มีความชัดเจน สสวท.จึงร่วมกับกลุ่มนักวิชาการ พัฒนากรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2546 และอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 โดยมีหลักในการเลือกเนื้อหา 3 ประการดังนี้
1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์
2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก
3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้
ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายให้ครูผู้สอนได้นำไปจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาความรู้ รวมถึงการพัฒนากระบวนการคิด กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา ตลอดจนมีจิตวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยและเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการศึกษาในระดับต่อไป
เป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์คือ
1.แสดงความตระหนักรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นผ่านการลงมือปฏิบัติ การสำรวจ การสังเกต การตั้งคำถาม และการแลกเปลี่ยนสิ่งที่ค้นพบ
2.ดำเนินการสืบเสาะหาความรู้อย่างๆด้วยตนเอง อย่างเสรีและตามแยยที่กำหนดให้
3.แสดงความเข้าใจและรู้จักดูแลรักษาธรรมชาติ
4.สืบค้นและสนทนาเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของสิ่งต่างและใช้สิ่งเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย
5.รู้และสามารถใช้สิ่งของที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
6.เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์
บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย
1.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกรอบตัว  เด็กจะได้รับการส่งเสริมและตอบสนองต่อคำถามที่เกิดขึ้นระหว่างการสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัวของตนเองอย่างเหมาะสม
2.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะตามวัยที่สำคัญ 4 ด้านได้แก่ ด้านร่างกาย การจัดกิจกรรมให้เด็กได้สำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าและใช้อุปกรณ์สำรวจอย่างง่าย ซึ่งเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก  ด้านอารมณ์และจิตใจ การจัดกิจกรรมสำรวจและทดลอง เด็กได้รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง รู้จักใช้เหตุผล กล้าตัดสินใจ ได้แสดงผลงานและความสามารถจากการสำรวจด้านสังคม เด็กได้ฝึกการช่วยเหลือตนเองในการทำกิจกรรม รู้จักทำงานร่วมกับเพื่อน รู้จักการให้และการรับ ฝึกการปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือข้อตกลงร่วมกัน และเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมรอบตัวและช่วยกันดูและรักษา ด้านสติปัญญา เด็กได้พัฒนาความสามารถในการถามคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ การค้นหาคำตอบด้วยวิธีการต่างที่เหมาะสมกับวัย ได้บอกลักษณะของสิ่งที่สำรวจพบด้วยคำพูด การวาดภาพ ได้เรียนรู้ใหม่และบอกวิธีการเรียนรู้ของตนเอง
3.การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้มีโอกาสใช้จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ในการออกแบบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ตลอดจนคิดวิธีการแก้ปัญหาต่างๆตามวัยและศักยภาพผ่านทางการเล่นทางวิทยาศาสตร์
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยควรส่งเสริมด้านต่างๆดังนี้
1.สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก
2.สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม
3.ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ
4.ส่งเสริมกระบวนการคิด
5.ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
6.ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
7.เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ
การพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์สามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการตั้งคำถาม การทดลอง การสังเกตและการหาข้อสรุปซึ่งเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการแก้ปัญหา ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ระดับปฐมวัย ควรให้เด็กได้ตระหนักถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ต่อไปนี้
1.เราต้องการค้นหาอะไร
2.เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อการค้นหานี้
3.เราเห็นอะไรเกิดขึ้นบ้าง
4.สิ่งต่างๆเหล่านี้บอกอะไรแก่เราบ้าง
ผลที่ได้รับจากการศึกษาเอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยคือได้ทราบ
หลักการและความสำคัญ เป้าหมาย บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย และแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งจะได้นำแนวทางนี้ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต่อไป
เอกสารอ้างอิง  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  แนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2546

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

บันทึกหลังการเรียนการสอน
Tueday , December , 2 , 2557
Time 14.10 pm to 17.30 pm

ความรู้ที่ได้รับ

สรุป THAI TEACHER TV , RESEARCH งานวิจัย

1.เรื่อง ผลการจักกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (RESEARCH งานวิจัย )    

2.เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมเรื่องแสงที่มีต่อทักษะการแสวงหาความรู้  (RESEARCH งานวิจัย )   

3.เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเครื่องสมุนไพร (RESEARCH งานวิจัย )   

4.เรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์เรียนรู็แบบโครวการกับแบบสืบเสาะความรู้ (RESEARCH งานวิจัย )   

5.เรื่อง เรียนรู้วิทยาศาสตร์ ( THAI TEACHER TV )

6.เรื่อง เสียงในการได้ยิน ( THAI TEACHER TV )

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกหลังการเรียนการสอน
Tueday , November , 25 , 2557
Time 14.10 pm to 17.30 pm


สรุป THAI TEACHER TV , RESEARCH งานวิจัย

1.เรื่อง การกำเนิดของเสียง ( THAI TEACHER TV )
       ได้ฝึกทักษะการคิด การทดลอง การใช้คำถามกับเด็ก เช่น เสียงต่างกันอย่างไร มาจากไหน

2.เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัย ( RESEARCH งานวิจัย )
     การเรียนณุ้เรื่องสี คือสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเด็ก สิ่งที่อยู่ตามธรรมชาติ เช่น ผัก ผลไม้ ดอกไม้  

3.เรื่อง สารอาหารในชีวิตประจำวัน THAI TEACHER TV )
    การปรุงอาหารเกิดจากการผสมส่วนประกอบของอาหารต่างๆ เข้าด้วยกัน อย่างถูกต้องตามชื่ออาหารให้ได้รสชาติที่ต้องการ

4.เรื่อง ไฟฟ้าและพันธ์ุพืช  THAI TEACHER TV )
     สอนการเจริญเติบโตของพืช โดยใช้สื่อการเรียนรู้นอกห้องเรียน ให้เด็กสังเกตการเจริญเติบโตของพืช และให้เด็กทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องไฟฟ้าและพันธ์ุพืช  จากที่ให้เด็กลงมือทำแล้ว มีสื่อ มีอุปกรณ์ให้เด็กได้ทำการทดลอง เด็กเกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์

5.เรื่อง การเสริมประสบการณ์เรื่องแสงที่มีต่อทักษะทักษะการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย ( RESEARCH งานวิจัย )
    ช่วยในการแสวงหาความรู้เกี่ยงกับทักษะความรู้ ซึ่งแสงได้อยูรอบๆตัวเรา นำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องแสงได้

6.เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัย ด้วยกิจกรรมทำเครื่องดื่มสมุนไพร RESEARCH งานวิจัย ) 
     ทักษะในวิจัยนี้ มีทักษะการสังเกต การจะแนก การสื่อความหมายของข้อมูล เด็กจะได้ทักษะทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น


กิจกรรม Cooking  Waffle


อุปกรณ์และส่วนผสม
  1. ไข่ไก่ ( Egg )
  2. เนย ( Butter )
  3. แป้ง ( Powder )
  4. น้ำ ( Water )
  5. ถ้วย ( Cup ) 
  6. ช้อน ( Spoon )
วิธีการทำวาฟเลิฟ
  1.    ผสมแป้งและไข่คนให้คนกัน ค่อยเติมน้ำและเนย คนให้เข้ากัน
  2.    เมื่อได้แป้งตามต้องการแล้ว ตักแป้งใส่ถ้วย และนำไปเท่ลงแม่พิมพ์


บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกหลังการเรียนการสอน
Tueday , November , 18 , 2557
Time 14.10 pm to 17.30 pm


ความรู้ที่ได้รับ ( The Knowledgo Gained )

นำเสนอแผนการเรียนการสอนต่อจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 

กลุ่มที่ 7 นกหงส์หยก

สอนเรื่องชนิดและลักษณะของนกหงศ์หยก โดยการเปรีบเทียบ ความเหมือน 
ความแตกต่างของนกหงส์หยก

กลุ่มที่ 8 เรื่องสับปะรด ( กลุ่มของตวเอง )

สอนเรื่องประโยชน์และข้อควรระวังของสับปะรด โดยมีนิทานเรื่อง "น้องหนูนากับสับปะรด"

กลุ่มที่ 9 เรื่องส้ม

สอนการแปรรูปของส้ม

สรุป THAI TEACHER TV , RESEARCH งานวิจัย
1.เรื่อง นม + สี + น้ำยาล้างจาน สำหรับเด็กอนุบาล ( THAI TEACHER TV )
       เด็กวัยนี้เป็นวัยที่มีการพัฒนาการทางสติปัญญาผ่านทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ และสามารถแก้ปัญหาได้อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กมุ่งเน้นพัฒนาการ การทดลอง

2.เรื่อง สร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส  ( THAI TEACHER TV )
      ทักษะที่ได้รับคือ ฝึกการสังเกต ฝึกการมอง ฝึกการฟัง ฝึกการดมกลิ่น ฝึกการสัมผัส ฝึกการชิมรสชาติ

3.เรื่อง ดินน้ำมันลอยน้ำได้อย่างไร  ( THAI TEACHER TV )
      ครูให้เด็กโดยการสืบเสาะหาความรู้ จากการปั่นดินน้ำมันในรูปต่างๆ จากนั้นครูออกแบบ จัดกระบวนการสังเกต ครูแจกใบงานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ โดยให้เด็กเรียนเรื่องการคาดคะเนว่า เด็กจะปั้นดินน้ำมันเป็นรูปอะไรถึงจะลอยน้ำได้ และให้เด็กออกมานำเสนอผลงาน พร้อมกลับเอาดินน้ำมันลอยน้ำ


กิจกรรม Cooking 

"ไข่เทอริยากิ"

สามารถนำไปสอนเด็กได้เพราะขั้นตอนไม่ยุ่งยาก อุปกรณ์และส่วนผสมหาซื้อง่ายได้

ส่วนผสม
  1. ไข่ไก่ ( Egg )
  2. ข้าวสวย ( Rice )
  3. ผักต่างๆ ( เช่น แครทCarror / ต้นหอมLeek เป็นต้น หรือ ผักที่เราชอบ )
  4. ปูอัด 
  5. ซอสปรุงรส
  6. เนย ( Better )
วิธีทำไข่เทอริยากิ
  1. ตีไข่ใส่ถ้วย
  2. นำส่วยผสมที่เตรียมใส่ลงในไข่ในอัตราส่วนที่พอดี คนให้เข้ากัน
  3. นำเนยใส่ในหลุมกระทะ
  4. เท่ไข่และส่วนผสมที่เราเตรียมในกระทะ
    การทำไข่เทอริยากิ เป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็ก เพราะ เด็กสามารถลงมือทำด้วยด้วยตนเอง เด็กจะเกิดความสนุกสนาน และการทำกิจกรรมควรมีครูเป็นผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด


สิ่งที่จะนำไปพัฒนา (What will Be Furher Developedl )
       เราสามารถนำแผนการเรียนการสอนของกลุ่มเพื่อน นำไปปรับปรุงแก้ไขใช้ได้  เพราะการเขียนแผนการเรียนการสอนเป็นสิ่งสำคัญมากที่ต้องทำไปใช้ให้เกิดประโชยน์และนำไปสอนกับเด็กได้

การประเมินผล ( Evaluation )
  • ตนเอง ( Self )  ตั้งใจฟังกลุ่มของเพื่อนเสนอแผนการเรียนการสอนและออกไปนำเสนอแผนการเรียนการสอนของกลุ่มตัวเองด้วย
  • เพื่อน ( Friends ) ตั้งใจเรียนและฟังเพื่อนนำเสนาองานการการเรียนการสอน สนใจในการทำกิจกรรมCookingมาก
  • อาจารย์ ( Tachers )ให้คำแนะนำเพิ่มเติมให้แต่ละกลุ่ม เพื่อจะนำไปปรับปรุงแก้ไข





บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกหลังการเรียนการสอน
Tueday , November , 11 , 2557
Time 14.10 pm to 17.30 pm


ความรู้ที่ได้รับ ( The Knowledgo Gained )
        นำเสนอแผนการเรียนการสอน ของแต่ละกลุ่ม ดังนี้ ...

กลุ่มที่ 1 เรื่อง ผลไม้ 

สอนเรื่อง ชนิดของผลไม้ 

กลุ่มที่ 2 เรื่อง แตงโม

สอนการทำน้ำแตงโมปั่น โดยครูจะเป็นผู้เตรียมอุปรณ์ไว้ให้ 
 จากนั้นครูสาธิตการทำน้ำแตงโมปั่นให้เด็กดู1รอบ และให้เด็กออดมาทำน้ำแตงโมด้วตนเอง

กลุ่มที่ 3 เรื่อง ข้าวโพด

สอนเรื่องประโยชน์และข้อควรระวังของข้าวโพด ข้าวโพดมีประโยชน์หลายอย่าง สามารถนำมาปรกอบอาหารได้ เช่น ตำข้าวโพด ข้าวโพดอบเนย น้ำมันข้าวโพด เป็นต้น และข้าวโพดยังมีข้อควรระวังอีกด้วย คือ หากทานข้าวโพดมากเกินไปจะทำให้ ท้องผูก ท้องเสียได้

กลุ่มที่ 4 เรื่อง กล้วย

สอนเรื่องประโยชน์และข้อควรระวังของกล้วย กล้วยมีประโยชน์หลายอย่าง สามารถนำมาปรกอบอาหารได้ เช่น กล้วยบวชชี กล้วยปิ้ง กล้วยทอด  เป็นต้น และกล้วยมีข้อควรระวังอีกด้วย คือ หากทานข้าวโพดมากเกินไปจะทำให้ ปวดท้อง เปลือกกล้วยทำให้เราหกล้มได้หากเราเหยียบ

กลุ่มที่ 5 เรื่องช้าง

สอนเรื่องลักษณะและชื่อของช้าง  

กลุ่มที่ 6 เรื่องผีเสื้อ

สอนเรื่องลักษณะของผีเสื้อ 

สิ่งที่จะนำไปพัฒนา (What will Be Furher Developedl )
       เราสามารถนำแผนการเรียนการสอนของกลุ่มเพื่อน นำไปปรับปรุงแก้ไขใช้ได้

การประเมินผล ( Evaluation )
  • ตนเอง ( Self )  ตั้งใจฟังกลุ่มของเพื่อนเสนอแผนการเรียนการสอน
  • เพื่อน ( Friends ) ช่วยตอบคำถามที่กลุ่มนำเสนองานสอนแผนการเรียนการสอน
  • อาจารย์ ( Tachers )ให้คำแนะนำเพิ่มเติมให้แต่ละกลุ่ม เพื่อจะนำไปปรับปรุงแก้ไข






บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกหลังการเรียนการสอน
Tueday , November , 1 , 2557
Time 14.10 pm to 17.30 pm

ความรู้ที่ได้รับ ( The Knowledgo Gained )
       อาจารย์ให้นักศึกษานั่งตามกลุ่มของตัวเอง  และอธิบายเกี่ยวกับการเขียนแผนการเรียนการสอน  ว่ามีอะไรบ้าง   ดังนี้...

  1. สาระการเรียนรู้
  2. เนื้อหา Mind Map
  3. แนวคิด มีทั้งประโยชน์และโทษ
  4. ประสบการณ์สำคัญ
  5. การบูรณาการรายวิชา
  6. Web การทำกิจกรรม 
  7. กรอบพัฒนาการ
  8. วัตถุประสงค์

สิ่งที่จะนำไปพัฒนา (What will Be Furher Developedl )

       สามารถนำเอาการเรียนการสอน และการเขียนแผนการเรียนการสอน ไปปรับปรุงและแก้ไขเพื่อให้เด็กเกิดพัฒนาการ ทางสติปัญญาและการเรียนรู้
การประเมินผล ( Evaluation )

  • ตนเอง ( Self ) แต่งกายเรียนร้อย จดบันทึดรายละเอียดที่อาจารย์สอน
  • เพื่อน ( Friends ) คุยกัน แต่ช่วยกันแสดงความคิดเห็นและตอบคำถามที่อาจารย์ถาม
  • อาจารย์ ( Tachers ) อาจารย์อธิบาย การเขียนแผนการเรียนการสอน ตามลำดับขั้นตอน อย่างละเอียด